สำหรับประชาชนทั่วไป สัญลักษณ์ GHS ก็มีความสำคัญอยู่ไม่น้อย เพื่อที่จะได้ระวังเมื่อเจอรถขนส่งสารเคมี หรือเมื่อพบเห็นกล่องที่ติดสัญลักษณ์แสดงอันตรายนั้นๆ โดยจากข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ระบุไว้ว่า รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย (Hazard pictogram) เป็นสัญลักษณ์สีดำบนพื้นขาวอยู่ภายในกรอบสีแดงรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด จำนวน 9 รูปสัญลักษณ์ สื่อความหมายของความเป็นอันตรายในแต่ละด้าน และแต่ละประเภท ได้แก่ 1. สารไวไฟ : อาจเป็นได้กับทั้งก๊าซ ของเหลว ของแข็ง / สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง / เกิดความร้อนได้เอง / ลุกติดไฟในอากาศได้เอง / สัมผัสน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ / สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ 2. สารออกซิไดซ์ : อาจเป็นได้กับทั้งก๊าซ ของเหลว ของแข็ง 3. วัตถุระเบิด : หมายถึงวัตถุระเบิด สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ 4. ก๊าซบรรจุภายใต้ความดัน : ก๊าซภายใต้ความดัน 5. สารกัดกร่อน : สารที่กัดกร่อนโลหะ ผิวหนัง และดวงตา 6. พิษเฉียบพลัน : สารที่มีอันตรายถึงชีวิต 7. อันตรายต่อสุขภาพ : การก่อมะเร็ง / การทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจ /ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ / ความเป็นพิษต่ออวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง / ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์ /ความเป็นอันตรายต่อการสำลัก (สไตรีนโมโนเมอร์ มีสัญลักษณ์นี้ระบุไว้) 8. ระวัง : ระคายเคืองต่อดวงตา ผิวหนัง / ทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อผิวหนัง / อาจระคายเคืองต่อทางเดินหายใจหรือทำให้ง่วง หรือมึนงง / ความเป็นพิษเฉียบพลัน 9. อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม : เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ในน้ำ ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทรสายด่วน 1784
|