สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลท่าสาย
1. ความเป็นมาและที่ตั้ง ตำบลท่าสาย
ตั้งอยู่ระหว่างถนนเชียงราย - เทิง แยกการปกครองมาจากตำบลสันทราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2528 ตามประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2528 องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสาย ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสาย ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม 2539 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนที่ 9 ลงวันที่ 30 มกราคม 2539 หน้าที่ 5 และได้รับจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 เทศบาลตำบลท่าสายตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ของอำเภอเมืองเชียงราย อาคารที่ทำการอยู่ห่างจากอำเภอเมืองเชียงราย ระยะทาง 5 กิโลเมตร ลักษณะพื้นที่ ตั้งอยู่บนที่ราบสูง มีพื้นที่ 64 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 40,000 ไร่ ตั้งอยู่ ณ อาคารที่ทำการเลขที่ 377 หมู่ที่ 5 บ้านหนองยาว ถนนเชียงราย - เทิง ตำบลท่าสาย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย มีหมู่บ้านในเขตการปกครอง ทั้งสิ้น 13 หมู่บ้าน
อาณาเขตติดต่อ - ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย - ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลห้วยสัก, ตำบลป่าอ้อดอนชัย, อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย - ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย - ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลป่าอ้อดอนชัย, ตำบลสันทราย, อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของเทศบาลตำบลท่าสาย ตั้งอยู่บนที่ราบสูงมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำลาว ซึ่งไหลผ่านหลายหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นสายน้ำที่ไหลหล่อเลี้ยงชีพเกษตรกรสายที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสายหนึ่ง
สภาพภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศของเทศบาลตำบลท่าสายเป็นแบบมรสุมเขตร้อน ซึ่งแบ่งออกได้ 3 ฤดู ดังนี้ ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน ในฤดูร้อนจะร้อนมากอุณหภูมิสูงสุดในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ฤดูหนาว อากาศ จะหนาวในช่วงเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ฤดูฝนจะมีฝนตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – ตุลาคม
สภาพเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจมีการประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน ปลูกผัก จำแนกได้ดังต่อไปนี้ - ทำสวน ได้แก่ สวนมะม่วง มะนาว - ปลูกผัก ได้แก่ ผักกาดเขียวปลี ถั่วฝักยาว คะน้า กะหล่ำปลี - ทำไร่ ได้แก่ ปลูกข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง อ้อย
เขตการปกครอง ตำบลท่าสาย มีเนื้อที่ 64 ตารางกิโลเมตร มีความหนาแน่นเฉลี่ย 150 คน/ตารางกิโลเมตร มีจำนวนหมู่บ้านในเขตการปกครองทั้งสิ้น 13 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่บ้าน | ชื่อ – สกุล กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน | ตำแหน่ง | หมายเหตุ | หมู่ที่ 1 บ้านสันขมิ้น | นายเฉลิม ตาวงค์ | กำนันตำบลท่าสาย | - | หมู่ที่ 2 บ้านร่องธาร | นายธเนศธรรม ไคร้ศรี | ผู้ใหญ่บ้าน | - | หมู่ที่ 3 บ้านท่าสาย | นายบุญฤทธิ์ อาญา | ผู้ใหญ่บ้าน | - | หมู่ที่ 4 บ้านแม่ลาว | นายพีระ พีระพงษ์ | ผู้ใหญ่บ้าน | - | หมู่ที่ 5 บ้านหนองยาว | นายสุริยัน สมวัน | ผู้ใหญ่บ้าน | - | หมู่ที่ 6 บ้านหัวดอย | นายอัฐชนพนต์ เมืองไหว | ผู้ใหญ่บ้าน | - | หมู่ที่ 7 บ้านป่าหัด | นางสาวบานเย็น จักรสุวรรณ | ผู้ใหญ่บ้าน | - | หมู่ที่ 8 บ้านห้วยบง | นายอภิชัย นันต๊ะรัตน์ | ผู้ใหญ่บ้าน | - | หมู่ที่ 9 บ้านเขื่อนแก้ว | นายเลวัช อุทุมภา | ผู้ใหญ่บ้าน | - | หมู่ที่ 10 บ้านห้วยฮ้อม | นายมานิตย์ ดู่คำ | ผู้ใหญ่บ้าน | - | หมู่ที่ 11 บ้านเวียงคุ้ม | นางชนากานต์ เลิศชมภู | ผู้ใหญ่บ้าน | - | หมู่ที่ 12 บ้านหัวดอยสันติ | นางบุญรัศมี กันธิยะ | ผู้ใหญ่บ้าน | - | หมู่ที่ 13 บ้านเวียงกลาง | นางสาวชมพูนุช แพทย์รัตน์ | ผู้ใหญ่บ้าน | - |
จำนวนประชากร ประชากรรวมทั้งสิ้น 10,113 คน แยกเป็น ชาย 4,801 คน หญิง 5,312คน จำนวนครัวเรือน 6,151 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 154.19 คน/ตารางกิโลเมตร มีจำนวนหมู่บ้านในเขตการปกครองทั้งสิ้น 13 หมู่บ้าน ประกอบด้วย (ข้อมูล ณ เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2564) หมู่บ้าน | ชาย (คน) | หญิง (คน) | รวม (คน) | ครัวเรือน (หลัง) | หมู่ที่ 1 บ้านสันขมิ้น | 299
| 350 | 649 | 481 | หมู่ที่ 2 บ้านร่องธาร | 307 | 396 | 703 | 463 | หมู่ที่ 3 บ้านท่าสาย | 382 | 414 | 796 | 456 | หมู่ที่ 4 บ้านแม่ลาว | 479 | 545 | 1,024 | 634 | หมู่ที่ 5 บ้านหนองยาว | 424 | 503 | 927 | 677 | หมู่ที่ 6 บ้านหัวดอย | 323 | 342 | 665 | 410 | หมู่ที่ 7 บ้านป่าหัด | 342 | 409 | 751 | 394 | หมู่ที่ 8 บ้านห้วยบง | 556 | 559 | 1,115 | 607 | หมู่ที่ 9 บ้านเขื่อนแก้ว | 304 | 292 | 596 | 261 | หมู่ที่ 10 บ้านห้วยฮ้อม | 496 | 535 | 1,031 | 485 | หมู่ที่ 11 บ้านเวียงคุ้ม | 342 | 358 | 700 | 321 | หมู่ที่ 12 บ้านหัวดอยสันติ | 263 | 300 | 563 | 138 | หมู่ที่ 13 บ้านเวียงกลาง | 284 | 309 | 593 | 324 |
2. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2.1 การคมนาคม เทศบาลตำบลท่าสาย มีถนนสายหลัก ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1020 เป็นเส้นทางสายหลัก ทิศตะวันตกมุ่งหน้าสู้ตัวเมืองจังหวัดเชียงราย ทิศตะวันออกมุ่งหน้าสู่อำเภอพญาเม็งราย อำเภอเทิง อำเภอเชียงของ
2.2 ถนน ถนนในเขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลท่าสาย - ถนนลาดยาง จำนวน 2 สาย - ถนนลูกรัง จำนวน 10 สาย - ถนนคอนกรีต จำนวน 50 สาย
ถนนในเขตความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นที่อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าสาย ได้แก่ - ถนนลาดยาง จำนวน 4 สาย - ถนนลูกรัง จำนวน 0 สาย - ถนนคอนกรีต จำนวน 0 สาย
2.2 ด้านน้ำอุปโภค บริโภค เทศบาลตำบลท่าสาย มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับอุปโภคบริโภค ดังนี้
แหล่งน้ำธรรมชาติ 1. แม่น้ำลาว ไหลผ่าน หมู่ที่ 1 2 3 4 7 8 ตำบลท่าสาย 2. อ่างเก็บน้ำ ห้วยอีเกิ้ง หมู่ที่ 6 บ้านหัวดอย 3. อ่างเก็บน้ำ ห้วยปูแกง หมู่ที่ 6 บ้านหัวดอย 4. หนองบัวสาธารณประโยชน์ หมู่ที่ 7 บ้านป่าหัด 5. อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก้ว หมู่ที่ 9 บ้านเขื่อนแก้ว 6. อ่างเก็บน้ำหนองสระหลวง หมู่ที่9 บ้านเขื่อนแก้ว 7. อ่างเก็บน้ำหนองหลวง หมู่ที่ 9 บ้านเขื่อนแก้ว 8. อ่างเก็บน้ำห้วยฮ้อม หมู่ที่ 10 บ้านห้วยฮ้อม 9. อ่างเก็บน้ำต้นผึ้ง หมู่ที่ 10 บ้านห้วยฮ้อม 10. อ่างเก็บน้ำหนองเจ้าน้อยเจ้าแดง หมู่ที่ 11 บ้านเวียงคุ้ม
ระบบประปาหมู่บ้าน 1. ประปาบาดาลขนาดใหญ่ หมู่ที่ 3 บ้านท่าสาย 2. ประปาบาดาลขนาดใหญ่ หมู่ที่ 6 บ้านหัวดอย 3. ประปาผิวดินขนาดใหญ่ หมู่ที่ 10 บ้านห้วยฮ้อม 4. ประปาบาดาลขนาดใหญ่ หมู่ที่ 11 บ้านเวียงคุ้ม 5. ประปาบาดาลขนาดใหญ่ หมู่ที่ 13 บ้านเวียงกลาง 6. ประปาขนาดเล็ก หมู่ที่ 1 บ้านสันขมิ้น 7. ประปาขนาดเล็ก หมู่ที่ 5 บ้านหนองยาว ซอยสันลมจอย 8. ประปาขนาดเล็ก หมู่ที่ 6 บ้านหัวดอย ซอย 5 บ้านใหม่ 9. ประปาขนาดเล็ก หมู่ที่ 11 บ้านเวียงคุ้ม ซอย 5 หลังตลาดผลไสว 10. ประปาขนาดเล็ก หมู่ที่ 12 บ้านหัวดอยสันติ ซอย1 11. ประปาขนาดเล็ก หมู่ที่ 12 บ้านหัวดอยสันติ ซอย 2 12. ประปาขนาดเล็ก หมู่ที่ 12 บ้านหัวดอยสันติ ซอย 7
ประปาส่วนภูมิภาค 1. ได้รับความอนุเคราะห์จากการประปาภูมิภาคเขต 9 เชียงใหม่ ในการขยายเขตจำหน่ายประปาในเขตเทศบาลตำบลท่าสาย บริเวณทางหลวงแผ่นดินสายเชียงราย-เทิง ตั้งแต่ หมู่ที่ 1, 2 , 3 , 4 , 5 และหมู่ที่ 11 2. หมู่บ้านที่ขยายเขตประปา ของการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงราย - หมู่ที่ 5 บ้านหนองยาว หมู่ที่ 12 บ้านหัวดอยสันติ - หมู่ที่ 11 บ้านเวียงคุ้ม หมู่ที่ 13 บ้านเวียงกลาง 3. พื้นที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค คือ หมู่ที่ 6 บ้านหัวดอย หมู่ที่ 7 บ้านป่าหัด(ฝั่งหนองไฮ) หมู่ที่ 8 บ้านห้วยบง(ทุ่งฝาย) หมู่ที่ 10 บ้านห้วยฮ้อม
ด้านไฟฟ้าสาธารณะ ขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ(ไฟกิ่ง) จำนวน 1 หมู่บ้าน ได้แก่ 9 คิดเป็นร้อยละ 7.69 เปอร์เซ็นต์ ของไฟฟ้าสาธารณะในตำบลท่าสาย
งานซ่อมแซม บำรุงรักษา ไฟฟ้าสาธารณะ (ไฟกิ่ง) จำนวน 13 หมู่บ้าน จำนวนดวงโคมที่มีทั้งหมด 725 จุด คิดเป็นร้อยละ 25.93 เปอร์เซ็นต์ ของไฟฟ้าสาธารณะในตำบลท่าสาย
ขยายเขตจำหน่ายไฟฟ้า จำนวน 1 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 6 บ้านหัวดอย คิดเป็นร้อยละ 7.69 เปอร์เซ็นต์ ของครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ทั้งหมด
ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 6 , 7 , 8 , 9 , 10 , 13 จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 97 หลังคาเรือน
3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตำบลท่าสายมีเทือกเขาดอยปุยทอดผ่านตั้งแต่ บ้านหัวดอย หมู่ที่ 6 จนถึงบ้านเขื่อนแก้ว หมู่ที่ 9 ความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร มีป่าไม้ธรรมชาติขึ้นตามแนวภูเขาและมีธารน้ำเล็กๆ ไหลตลอดปี โดยใช้ประโยชน์เป็นประปาภูเขาเพื่อใช้ในการอุปโภคและเพื่อการเกษตรกรรมของชาวบ้าน
ทรัพยากรน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำที่สำคัญใช้ในประโยชน์ด้านการเกษตร การเพาะปลูก และการอุปโภค บริโภค ได้แก่ แม่น้ำลาว ไหลผ่าน บ้านสันขมิ้น หมู่ที่ 1, บ้านร่องธาร หมู่ที่ 2, บ้านท่าสาย หมู่ที่ 3, บ้านแม่ลาว หมู่ที่ 4, บ้านป่าหัด หมู่ที่ 7, บ้านห้วยบง หมู่ที่ 8
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น 1. อ่างเก็บน้ำห้วยอีเกิ้ง บ้านหัวดอย หมู่ที่ 6 2. อ่างเก็บน้ำห้วยปูแกง บ้านหัวดอย หมู่ที่ 6 3. หนองน้ำสาธารณประโยชน์ บ้านป่าหัด หมู่ที่ 7 4. อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก้ว บ้านเขื่อนแก้ว หมู่ที่ 9 5. อ่างเก็บน้ำหนองสระหลวง บ้านเขื่อนแก้ว หมู่ที่ 9 6. อ่างเก็บน้ำห้วยฮ้อม บ้านห้วยฮ้อม หมู่ที่ 10 7. อ่างเก็บน้ำต้นผึ้ง บ้านห้วยผึ้ง หมู่ที่ 10 8. อ่างเก็บน้ำหนองเจ้าน้อยเจ้าแดง บ้านเวียงคุ้ม หมู่ที่ 11
แหล่งท่องเที่ยว
| | พื้นที่ของตำบลท่าสายมีป่าไม้ธรรมชาติอยู่ตามแนวเทือกเขาดอยปุย มีสัตว์ป่า อาทิ ไก่ป่า และนกชนิดต่างๆ จำนวนมาก สามารถพัฒนาเป็น จุดชมวิวที่สวยงาม และมีอ่างเก็บน้ำสาธารณะหนองบัว หมู่ที่ 7 ขนาด พื้นที่ 92 ไร่ เป็นที่ผักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายของประชาชน |
4. ด้านเศรษฐกิจ สภาพทางเศรษฐกิจของเทศบาลตำบลท่าสาย ประกอบอาชีพหลากหลาย ประกอบด้วย - ประชากรร้อยละ 20 มีอาชีพเกษตรกรรม - ประชากรร้อยละ 45 มีอาชีพรับจ้าง - ประชากรร้อยละ 35 มีอาชีพค้าขาย รับราชการ และรัฐวิสาหกิจ
หน่วยธุรกิจในเทศบาลตำบลท่าสาย - โรงสีข้าวขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง - โรงสีขนาดเล็ก จำนวน 15 แห่ง - ปั๊มน้ำมัน จำนวน 4 แห่ง - คลังสินค้า จำนวน 1 แห่ง - โรงแรม / ที่พัก / เกสต์เฮ้าส์ จำนวน 1 แห่ง - ร้านค้า จำนวน 59 แห่ง - ห้างสรรพสินค้า จำนวน 1 แห่ง - โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ -โรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ที ที คอนกรีต จำกัด หมู่ที่ 1 บ้านสันขมิ้น - โรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ปูนตรานกอินทรี จำกัด (หาญเจริญ) หมู่ที่ 2 บ้านร่องธาร -โรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ปูนตราช้าง จำกัด หมู่ที่ 11 บ้านเวียงคุ้ม -โรงงานอุตสาหกรรมผลิตคอนกรีตบล็อก บริษัท เชียงรายแลนด์ แอสโซซิเอทส์จํากัด หมู่ที่ 11 บ้านเวียงคุ้ม
5. ด้านสังคม
การศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ แต่ละหมู่บ้านมีวัดตั้งอยู่เป็นศูนย์กลางของการประกอบกิจกรรมทางศาสนาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยวัด สำนักสงฆ์ รวม 9 แห่ง และโบสถ์ รวม 2 แห่ง ดังนี้
ศาสนาพุทธ ชื่อวัด | ที่ตั้ง | วัดร่องธาร | หมู่ที่ 2 บ้านร่องธาร | วัดศรีสุพรรณ | หมู่ที่ 6 บ้านหัวดอย | วัดสถาน | หมู่ที่ 7 บ้านป่าหัด | วัดศรีดอนชัย | หมู่ที่ 8 บ้านห้วยบง | วัดป่าห้วยบง | หมู่ที่ 8 บ้านห้วยบง | สำนักสงฆ์เกาะแก้ว | หมู่ที่ 9 บ้านเขื่อนแก้ว | วัดป่าเขื่อนแก้ว | หมู่ที่ 9 บ้านเขื่อนแก้ว | วัดป่าหัวดอย | หมู่ที่ 10 บ้านห้วยฮ้อม | วัดป่าธรรมประทีป | หมู่ที่ 11 บ้านเวียงคุ้ม | สำนักสงฆ์เทพพรมทอง | หมู่ที่ 12 บ้านหัวดอยสันติ | วัดเวียงกลาง | หมู่ที่ 13 บ้านเวียงกลาง |
ศาสนาคริสต์ ชื่อวัด | ที่ตั้ง | โบสถ์คริสตจักรเขื่อนแก้ว | หมู่ที่ 9 บ้านเขื่อนแก้ว | โบสถ์คริสตจักรลาหู่ | หมู่ที่ 9 บ้านเขื่อนแก้ว |
ประเพณีศิลปวัฒนธรรม เขตเทศบาลตำบลท่าสาย มีขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นเหมือนของภาคเหนือทั่วไป เกิดจากการผสมผสานการดำเนินชีวิต และศาสนาพุทธความเชื่อเรื่องการนับถือผี ส่งผลทำให้มีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของประเพณีที่จะแตกต่างกันไป ตามฤดูกาล ทั้งนี้ ภาคเหนือจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน จึงขอยกตัวอย่างประเพณีภาคเหนือบางส่วนมานำเสนอ ดังนี้ - สงกรานต์งานประเพณี - ประเพณีปอยน้อย/บวชลูกแก้ว/แหล่ส่างลองเป็นประเพณีบวช หรือการบรรพชาของชาวเหนือ - ประเพณีปอยหลวง หรืองานบุญปอยหลวง - ประเพณียี่เป็ง(วันเพ็ญเดือนยี่) หรืองานลอยกระทง - ประเพณีตานก๋วยสลาก
การสาธารณสุข การบริการด้านการสาธารณสุขมีโรงบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตั้งอยู่ในเขต 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาย และแต่ละหมู่บ้านมีศูนย์บริการสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทั้ง 13 หมู่บ้าน มีอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 164 คน สถานพยาบาล จำนวน 3 แห่ง อัตราการมีและใช้ส้วมแบบราดน้ำ 100 %
การสังคมสงเคราะห์และสวัสดิ์การสังคม การดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ให้กับผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสโดยดำเนินการในลักษณะมอบเบี้ยยังชีพและถุงยังชีพให้ตามความเดือดร้อนของประชาชน - ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 1,695 คน - ผู้พิการ จำนวน 253 คน - ผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 2 คน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - หน่วยบริการประชาชน (ตู้ยามตำรวจ ตำบลท่าสาย) จำนวน 1 แห่ง - กองร้อยหน่วยปฏิบัติการพิเศษ (น.ป.พ.) จำนวน 1 แห่ง - สายตรวจอาสาชุมชนประจำหมู่บ้าน จำนวน 13 แห่ง - ศูนย์ อปพร. จำนวน 1 แห่งตั้งอยู่ที่เทศบาลตำบลท่าสาย จำนวน 75 คน
การศึกษา ในพื้นที่ตำบลท่าสาย มีสถาบันการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียนอนุบาลจนถึงระดับ อาชีวศึกษา ดังนี้
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท่าสาย ประกอบด้วย - จำนวนเด็กนักเรียนทั้งหมด จำนวน 88 คน นักเรียนชาย จำนวน 44 คน นักเรียนหญิง จำนวน 44 คน - จำนวนครูผู้ดูแลเด็กทั้งหมด จำนวน 8 คน
สถาบันการศึกษาในตำบลท่าสายจำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย - โรงเรียนบ้านท่าสาย (ระดับอนุบาล ประถมศึกษา) - โรงเรียนบ้านหัวดอย (ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ตอนต้น) - วิทยาลัยการอาชีพเชียงราย (ระดับอาชีวศึกษา)
ด้านการเมืองและการบริหาร ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งเทศบาลตำบลท่าสาย 1. ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภา / นายกเทศมนตรีตำบลท่าสาย เมื่อวันที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2564
โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานเทศบาลตำบลท่าสาย เทศบาลตำบลท่าสายเป็นเทศบาลขนาดกลาง ประกอบด้วยฝ่ายสภาเทศบาลตำบลท่าสาย และคณะผู้บริหารเทศบาลตำบลท่าสาย 1. ฝ่ายสภาเทศบาลตำบลท่าสาย -
2. คณะผู้บริหารเทศบาลตำบล -
3. พนักงานเทศบาล มีปลัดเทศบาลตำบลท่าสายเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบการบริหารงานทั่วไปของเทศบาลซึ่งได้แบ่งการบริหารราชการออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
3.1 สำนักปลัดเทศบาล - ปลัดเทศบาล - รองปลัด
ข้าราชการจำนวน 10 คน - ลูกจ้างตามภารกิจ จำนวน 11 คน - พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 13 คน - พนักงานจ้างเหมา จำนวน 5 คน 3.2 กองคลัง - ข้าราชการ จำนวน 7 คน - ลูกจ้างตามภารกิจ จำนวน 2 คน - พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 5 คน - พนักงานจ้างเหมา จำนวน 3 คน 3.3 กองช่าง - ข้าราชการ จำนวน 6 คน - ลูกจ้างตามภารกิจ จำนวน 3 คน - พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 2 คน 3.4 กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม - ข้าราชการ จำนวน 6 คน - ลูกจ้างตามภารกิจ จำนวน 3 คน - พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 3 คน
|