ทำความรู้จักผื่น ตุ่ม โรคฝีดาษวานร ขั้นที่ 1 ผื่นแดงราบ ขั้นที่ 2 ผื่นแดงนูน ขั้นที่ 3 ตุ่มน้ำ ขั้นที่ 4 ตุ่มหนอง ขั้นที่ 5 ตกสะเก็ดและลอกออกเอง
รู้ไว้ไม่แตกพ่าย! วิธีป้องกันตัวเองจากโรคฝีดาษวานร 1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้มีผื่นสงสัยโรคฝีดาษวานร 2. เลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก 3. ไม่สัมผัสตุ่ม หนอง หรือบาดแผลของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือซากสัตว์ป่า และบริโภคเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก 4. สวมหน้ากากอนามัย 5. หมั่นล้างมือบ่อยๆ 6. ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น 7. หากสงสัยว่าติดเชื้อให้แยกตัวออกมาและรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา
8 กลุ่มเสี่ยง! อาการรุนแรง หากติดเชื้อโรคฝีดาษวานร 1. ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดซีดี 4 น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. 2. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด 3. ผู้ป่วยโรคมะเร็งอวัยวะต่าง ๆ 4. ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ 5. ผู้ได้รับการรักษาด้วยสาร/ยา/รังสี ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง 6. ผู้รับการปลูกถ่าย ไขกระดูก อวัยวะต่าง ๆ 7. ผู้ป่วยกลุ่มโรคแพ้ภูมิตนเองที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง 8. เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 8 ปี
สถานการณ์แบบนี้ติดไหม ?
สถานการณ์ที่เสี่ยงติดโรคฝีดาษวาร 1. สัมผัส/ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร 2. สัมผัส/ใช้ของร่วมกับผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า เครื่องนอน จาน ชาม
ช้อน แก้วน้ำ เป็นต้น 3. กลุ่มผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์สามารถส่งผ่านเชื้อสู่ทารกได้ 4. นั่งใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรเป็นเวลานาน โดยไม่สวมหน้ากากอนามัย เช่น การเดิน
ทางไกลมากกว่า 6 ชั่วโมง การอยู่ในสถานที่แออัด เป็นต้น
สถานการณ์ที่ไม่เสี่ยงติดโรคฝีดาษวาร 1. เดินสวนกับผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร 2. แยกของใช้กับผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร เช่น จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ เป็นต้น 3. นั่งข้างกันกับผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร โดยไม่มีการสัมผัสและสวมหน้ากากอนามัย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สายด่วน กรมควบคุมโรค 1422 |