“สารไซยาไนด์” หาได้ง่ายและสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน เพราะมีสารชนิดนี ้อยู ่ในผัก
ผลไม้ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวสาลี พีช มะม่วง ส่วนในทางอุตสาหกรรม ไซยาไนด์ใช้ในการผลิตไนล่อน และพบมากที่สุด
ในยาฆ่าแมลง ไซยาไนด์มีพิษร้ายแรงมาก เมื ่อรับสารพิษเข้าไปแม้เพียงนิดเดียว อวัยวะในระบบประสาท
ส่วนกลาง ตับ ไต และระบบหัวใจจะได้รับผลกระทบทันที อาการแรกที ่ปรากฏหลังได้รับสารนี ้เข้าไป คือ
หายใจติดขัด ตามด้วยอาการชักและหมดสติ ซึ ่งอันตรายมาก อาจเสียชีวิตในทันทีหากรับสารพิษนี ้เข้าไป
เป็นเวลานานติดต่อกันตั้งแต่ 1 - 15 นาที “ไซยาไนด์” จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที ่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 23 ประกอบมาตรา 73 “ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย
ชนิดที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับคำปรึกษาด้านกฎหมาย บริการด้านงานยุติธรรมต่าง ๆ ได้ที่ 1. สายด่วนยุติธรรม ๑๑๑๑ กด ๗๗ ฟรีตลอด ๒๔ ชั่วโมง 2. จดหมาย : ตู้ไปรษณีย์ ๓ หลักสี่ กทม. ๑๐๒๑๐ 3. เว็บไซต์ : https://www.moj.go.th/ และระบบให้บริการประชาชน http://mind.moj.go.th 4. อีเมล์ : complainingcenter@moj.go.th 5. แอปพลิเคชันไลน์ Lind ID : s.center10 6. เฟซบุ๊ก : ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม และกระทรวงยุติธรรม Ministry Of Justice, Thailand 7. แอปพลิเคชัน Justice Care : บริการรับเรื่องยุติธรรมสร้างสุข 8. สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ 9. กองทุนยุติธรรม โทร. ๐๖๓-๒๖๙๗๐๕๖ หรือ Facebook: กองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม โทร ๐๘ ๓๐๔๕ ๕๓๑๓ |